วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ

  
                แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดิน
แดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ที่แม่น้าสินธุไหลผ่าน อาณาเขตลุ่
แม่น้ำสินธุครอบคลุมบริเวณกว้างกว่าลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งอียิปส์โดยทุกๆปีกระแส น้ำได้ไหลท่วมท้น
ฝั่งทำให้ดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำกสิกรรมนักประวัติศาสตรบางคนเรียก
อารยธรรมในดินแดน นี้ว่าวัฒนธรรมฮารัปปา ซึ่งเป็นเชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสินธุเมื่อ
ประมาณ ๓,๕๐๐  ,๐๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช
                 เนื่องจากภูมิประเทศของอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเทือกเขาหิมาลัย
กั้นอยู่ทางตอนเหนือมีเทือกเขาฮินดุกุชอู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ
ส่วนทางด้านตะวันอออกติดกับมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงอ่าวเบงกอลดังนั้น ผู้ที่เดินทางโดยทางบก
เข้ามายังบริเวณนี้ในสมัยโบราณต้องผ่านช่องเขาทางด้านตะวันตกที่เรียกว่าช่องเขาไคเบอร์ซึ่งเป็นห
ทางเดียวที่จะเข้าสู่อินเดียในสมัยโบราณเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อินเดียตลอดมาเพราะเส้นทางนี้
เป็นทางผ่านของกองทัพของผู้รุกรานและพ่อค้าจากเอเชียกลาง อัฟกานิสถานเข้าสู่อินเดีย เพราะเดิ
นทางได้สะดวก

Ø การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์

หลักฐานทางโบราณทางโบราณคดีพบว่ามีหมู่บ้านและเมืองโบราณกว่า ๕๐ แห่งบนบริเวณที่ราบริม
ฝั่งแม่น้ำสินธุและพบเมืองใหญ่ ๒ เมือง คือ

·       เมืองฮารัปปา

·       เมืองโมเฮนโจ-ดาโร
 และยังมีการขุดพบเมืองเล็กๆที่อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ชื่อ
เมืองกาลิภัณกันและเมืองริมฝั่งทะเลใหญ่ที่สุดชื่อเมืองโลธัลตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวแคมเบในทะเลอา
หรับหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุมีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรม
มานานชนเผ่าสำคัญที่สร้างอารยธรรม

Ø ลุ่มแม่น้ำสินธุแบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

          1.  พวกดราวิเดียน
หลักฐานทางโบราณคดี และการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพวกราวิเดียนคือชน
พื้นเมืองดั้งเดิม ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ
และจมูกแบนคล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกในปัจจุบัน
         2.  พวกอารยัน   

           เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่น ฐานใ
พื้นที่ต่างๆ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศอบอุ่นกว่าพวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่น
ฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุและขับไล่ พวกดราวิเดียน ให้ถอยร่นลงไปหรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมี
รูปร่างสูงใหญ่ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนืออาร ยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชน
พื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนดังนี้

                   ๑.การปกครองและกฎหมาย
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็น
ได้จากรูปแบบการสร้างเมืองอารัปปาและ เมืองเฮนโจ-ดาโรที่มีการวางผังเมืองในลักษณะ
เดียวกันมีการตัดถนนเป็นระเบียการสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกันตัวเมืองมักอยู่ใกล้ป้อม ซึ่ง
ต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชมีทั้งอำนาจ
ทางโลกและทางธรรมต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวก
ดราวิเดียนจึงได้เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบ กระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่
เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามอันดับจากครอบครัวที่
มีบิดาเป็นหัว หน้าครอบ ครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมี
ราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการ
ปกครองด้วยวิธีต่างๆ คือ 
      ๑). พิธีราชาภิเษก   
  
       เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อยกฐานะผู้นำให้เป็นเทวราชโดยมีพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีประกาศว่าราชา คือ 
พระอินทรพระประ ชาธิบดี และพระวิษณุ ราชาจึงกลายเป็นเทพเจ้า พิธีนี้ทำให้ราชาเป็นผู้ที่น่าเคารพ
ยำเกรงและมีอำนาจสูงสุด

      ๒). ความเชื่อในเรื่องอวตา 
          
         ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าพระราชาคือเทพเจ้าอวตารลงมาเพื่อปราบยุคเข็ญเช่นเดียวกับที่เชื่อว่าพระ
วิษณุอวตารมาเป็นพระรามในมหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นต้น นอกจากนี้ศาสนาฮินดูยังนับถือพระศิวะ
 และถือว่าพระราชาคือพระศิวะอวตารลงมาความ เชื่อในเรื่องของอวตารทำให้ราชาเป็นเทพเจ้าสูงสุด
 มีความยิ่งใหญ่ดังเช่นพระศิวะและพระวิษณุ
     ๓). พิธีอัศวเมธ  
      
        เป็นพิธีขยายอำนาจโดยส่งม้าวิ่งไปยังดินแดนต่างๆ จากนั้นส่งกองทัพติดตามไปรบ เพื่อยึดครอง
ดินแดนที่ม้าวิ่งผ่านไป พิธีนี้เป็นการแดงความยิ่งใหญ่ของพระราชา เพราะเมื่อทำพิธีอัศวเมธได้สำเร็จ
 ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือของราชาอื่นๆ

      ๔).การตั้งชื่อเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่  
        
             เปอร์เซียเป็นชาติแรกที่แสดงสถานการณ์เป็นราชาเหนือราชาอื่นๆ เช่นพระเจ้าดาริอุสเรียก 
พระองค์เองว่าเป็นราชาแห่งราชา ราชาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดียมักถูกเรียกว่ามหาราชา หรือราชาธิราช
เป็นต้น

           ๕). คำสอนในคัมภีร์ศาสนาและตำราสนับสนุนความยิ่งใหญ่ของราชา

               คัมภีร์พระเวทเน้นบทบาทความสำคัญของราชาที่ต่อสังคม คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา คือ 
พระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นราชาคือผู้ที่ลงโทษผู้ที่กระทำผิด เช่นเดียวกับในคัมภีร์
อื่นๆเช่นคัมภีร์ อรรถศาสตร์ ได้กล่าวถึงราชาและยกย่องราชาเป็นผู้ยิ่งใหญ่และเป็นผู้สร้างความเจริญ
รุ่งเรืองให้สังคมโดยมีข้อแม้ว่า
พระราชาจะต้องปกครองให้เป็นไปตามหลักธรรมศาสตร์และราชธรรม
      ราชาที่มีชื่อเสียงเช่น พระเจ้าอโศกมหราชแห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีอำนาจเหนืออินเดียเกือบทั้ง
หมดยกเว้นตอนใต้สุดต่อมาพระองค์หัน มานับถือพระพุทธศาสนาและสร้างพุทธสถานซึ่งแสดง
ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นสถูปที่เมืองต่างๆและยึดหลักการ ปกครองตางหลักธรรมทางพระ
พุทธศาสนาที่เน้นความเมตตากรุณา


                ๒. สังคมและวัฒนธรรม

        ในลุ่มน้ำสินธุ กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในระยะแรก คือ พวกดราวิเดียน ซึ่งเป็นโครงสร้างทางสังคม
ประกอบด้วยผู้ปกครอง ได้แก่ ราชาและ ขุนนาง แต่เมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองทำให้มีการเปลี่ยน
แปลงทางสังคม กล่าวคือ ฝ่ายดารวิเดียนถูกลดฐานะลง เป็นทาส ความสัมพันธ์ของคนในสังค
ระยะแรกมีการแต่งงานระหว่างชนสองกลุ่มแต่ต่อมาพวกอารยันเกรงว่าจะถูกกลืนทางเชื้อชาติจึง
ห้าม การแต่งงานระหว่างชนสองกลุ่ม ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างเผ่าพันธุ์ จนกลายเป็น

ระบบชนชั้นที่แบ่งหน้าที่ชัดเจนโดยแบ่งออกเป็น๔วรรณะใหญ่ๆ คือ

·       วรรณะพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีกรรมและสืบต่อศาสนา
·       วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองแว่นแคว้น
·       วรรณะแพศมีหน้าที่ผลิตอาหารและหารายได้ให้แก่บ้านเมือง
·       วรรณะศูทร คือคนพื้นเมือง
          ดั้งเดิมที่ทำหน้าที่รับใช้วรรณะทั้งสาม ส่วนลูกที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะถูกจัดให้อยู่
นอกสังคม เรียกว่า พวกจัณฑาล นอกจากนี้ในหมู่ชาวอารยัน       สตรีมีฐานะสูงในสังคมและใช้โค
เป็นเครื่องมือวัดความมั่นคงของบุคคลในด้านวัฒนธรรมพวกดราวิเดียนนับถือสัตว์บางชนิด ได้แก่ 
โค ช้าง และแรดนอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าต่างๆและแม่พระธรณี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์
พวกอาร ยันรับความเชื่อของพวกดราวิเดียนบางอย่างมานับถือได้แก่ การนับถือโค พระศิวะและ
ศิวลึงค์

                นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าหลายองค์ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุ ยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ 
ตัวอักษรโบราณของอินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนักวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้ปรากฏ
ในดวงตราต่างๆมากกว่า ๑,๒๐๐ ชิ้นโดยในดวงตราจะมีภาพวัว ควาย เสือ จระเข้ และช้างปรากฏ
อยู่ด้วย  พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประ
มาณ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ววรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ มหากาพย์ มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่
พวกอารยันและมหากาพย์รามเกียรติ์เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับพวกอารยัน
ชาวอารยันมักยึดมั่นในหลักศาสนาที่ปรากฎในคัมภีร์พระเวทและระบบวรรณะขณะเดียวกันชาว
อารยันบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านี้

              อารยธรรมของอินเดียได้แพร่หลายไปสู่ภูมิภาคต่างๆโดยผ่านการค้าขายการเผยแผ่ศาสนาทาง
การเมืองโดยผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม พื้นบ้านในดินแดนต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
นั้นๆ พระพุทธศาสนาปรากฏเด่นชัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของ
วัฒนธรรมต่างๆในภูมิภาคนี้ เช่น ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม เป็นต้น
            

       ๓.การดำรงชีพและการค้า



คนในดินแดนลุ่มน้ำสินธุมีการทำอาชีพการเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีการทำการ
ค้าภายในการเพิ่มประชากรในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้นซึ่งมีสิน
ค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การ
ท่อผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นสินค้าในการขายในดินแดนต่างๆ อาทิ อาระเบีย เปอร์เชีย อียิปต์ เป็นต้น
 เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
พันธ์ต่างๆมากขึ้น

 ที่มา:https://sites.google.com

อารยธรรมจีน

อารยธรรมจีน
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่ออารยธรรมจีน
          จีนเป็นดินแดนที่มีความกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำฮวงโห หรือแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของจีน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีดินสีเหลือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร ในหน้าน้ำจะมีน้ำเอ่อล้นและพัดดินตะกอนมาทับถม ทำให้ที่ราบริมแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่เสมอ ส่วนลักษณะภูมิอากาศเป็นเขตอบอุ่น ปริมาณฝนในหน้าแล้งมีน้อยจึงมีน้ำไม่เพียงพอ ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำเป็นสำคัญ ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ชาวจีนต้องมาอยู่รวมกันเป็นชุมชน และสร้างระบบชลประทานขึ้นด้วยการขุดคลองเพื่อระบายน้ำในขณะที่น้ำเอ่อล้น และทดน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่วนทรัพยากรธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโหมีป่าไม้และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง จากสภาพภูมิศาสตร์นี้ทำให้ชาวจีนสร้างสรรค์อารยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาชนะธรรมชาติ เช่น การคำนวณฤดู การควบคุมอุทกภัย ซึ่งชาวจีนได้นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นชุมชน มีการเกณฑ์แรงงานเพื่อควบคุมระบบชลประทานภายใต้ผู้นำชุมชน ซึ่งต่อมากลายเป็นชนชั้นปกครองและระบบกษัตริย์
          นอกจากนี้ลักษณะที่ตั้งของจีนมีปราการธรรมชาติ คือ ทางตะวันออกมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้เต็มไปด้วยภูเขาและป่าดิบร้อน ส่วนทางตะวันตกและทางเหนือก็เป็นทุ่งหญ้าทะเลทรายและภูเขา มีส่วนช่วยให้อารยธรรมจีนคงอยู่มาต่อเนื่องยาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยมาก
29
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
มีการค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง  ลักษณะคล้ายกับโครงกระดูกของชาวจีนในปัจจุบัน  มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินแบบหยาบ  ครองชีพโดยการล่าสัตว์  โดยมีการค้นพบแหล่งโบราณคดี 2 แหล่ง คือ
          1. วัฒนธรรมหยางเชา ลักษณะสำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีจำนวนมาก ลายที่มักเขียนเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และภาพใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม ซึ่งสืบทอดมาถึงสมัยสำริดและสมัยประวัติศาสตร์
30
แบบจำลองที่อยู่อาศัยในวัฒนธรรมหยางเชา
          2. วัฒนธรรมหลงชาน ลักษณะสำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียด สีดำขัดเงา คุณภาพดี เนื้อบางและแกร่ง แสดงว่ามีการใช้แป้นหมุน และมีวิธีการเผาที่ก้าวหน้ากว่าอารยธรรมหยางเชา รูปแบบของภาชนะดินเผาที่สำคัญ คือ ภาชนะ 3 ขา ซึ่งสืบทอดต่อมาในยุคสำริด
31
หม้อ 3 ขาในวัฒนธรรมหลงซาน
อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
         1. ราชวงศ์ชาง ถือเป็นราชวงศ์แรกที่ปกครองจีน มีเมืองหลวงที่เมืองอันยาง บริเวณมณฑลเหอหนาน มีการปกครองเป็นแบบนครรัฐ กษัตริย์เป็นผู้นำด้านการปกครองและเศรษฐกิจ ประชาชนมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ดำรงอาชีพโดยการทำเกษตรกรรม มีการชลประทาน มีการใช้เครื่องมือที่ทำจากสำริด เช่น กระถาง ซึ่งภายในมีตัวอักษร การประดิษฐ์อักษรแบบรูปภาพบนกระดูกสัตว์และบนกระดองเต่าเพื่อทำนาย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตัวอักษรจีนในปัจจุบัน นับถือเทพเจ้าแห่งการเพาะปลูก มีการทำปฏิทินบอกฤดูกาลต่างๆ
32
จารึกบนกระดูกสัตว์
         2. ราชวงศ์โจว (สมัยศักดินา/ฟิวดัล) ถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองจีนยาวนานที่สุด แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
2.1 โจวตะวันตก ศูนย์กลางการปกครองที่เมืองฉางอัน มีระบบการปกครองแบบเผิงเจี้ยน หรือระบบศักดินา เกิดทฤษฎีการเมืองอาณัติแห่งสวรรค์ คือ สวรรค์มอบอาณัติให้กษัตริย์ปกครอง กษัตริย์จึงมีฐานะเป็นโอรสแห่งสวรรค์ ซึ่งต้องปกครองด้วยความยุติธรรม
2.2 โจวตะวันออก มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองลั่วหยาง แต่เกิดความเกิดลัทธิและนักปราชญ์ที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ลัทธิที่สำคัญ คือ
1) ขงจื้อ  มีแนวความคิดคือ สนใจเรื่องของมนุษย์ การปกครองต้องให้ประชาชนเป็นสุขโดยไม่ใช้อำนาจ อบรมประชาชนให้เชื่อในเรื่องประเพณีอันดีงาม จะทำให้เกิดความสงบสุข ทัศนะทางสังคม บุคคลต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ทัศนะทางจริยธรรม เน้นการปลูกฝังคุณธรรม ทัศนะทางความเชื่อ พิธีกรรม และการบูชา เป็นการแสดงออกที่ดีของมนุษย์ รู้จักกตัญญู เกรงกลังอำนาจธรรมชาติ การทำพิธีนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
2) ลัทธิเต๋า ผู้ให้กำเนิดลัทธิ คือ เล่าจื๊อหรือเหลาจื่อ มีคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามวิถีธรรมชาติ ใช้ชีวิตสันโดษ 
3) ลัทธิม่อจื๊อ
4) ลัทธิฟาเจี่ย หรือ นิติธรรมนิยม
             3. ราชวงศ์ฉิน (สมัยจักรวรรดิ) ฉินซีหวงตี้สามารถปราบปราม และผนวกรัฐต่างๆ เป็นจักรวรรดิ ทำการฏิรูปอารยธรรมจีน ดังนี้ ยกเลิกระบบศักดินา นำการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาใช้ มีเซียนหยางเป็นเมืองหลวง มีเขตการปกครองเป็นมณฑล มีการใช้เงินตราแบบเดียวกัน เครื่องชั่งตวงวัดมาตรฐานเดียวกัน เก็บภาษีที่ดิน มีการสร้างถนน อาชีพเกษตรยังคงเป็นอาชีพหลัก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก เนื่องจากถูกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก มีการสำรวจสำมะโนประชากร ประกาศใช้ภาษาเขียน สร้างสังคมเป็นหนึ่งเดียว  สร้างพระราชวังอันใหญ่โต มีประติมากรรมลอยตัว เช่น สุสานจิ๋นซีหวงตี้ กำแพงเมืองจีน
34
สุสานฉินซี่ฮ่องเต้
33
              4. ราชวงศ์ฮั่น มีเมืองหลวงที่ฉางอัน เจริญสุดในสมัยพระเจ้าหวู่ตี้ จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุด มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ขันทีมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง และดำเนินนโยบายสำคัญ ของจักรพรรดิ  การค้าเจริญรุ่งเรืองมาก มีการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก ทั้งเส้นทางน้ำ และเส้นทางบก เส้นทางที่สำคัญคือ เส้นทางสายไหม  ซึ่งบุคคลที่ใช้เส้นทางนี้ เช่น พระถังซำจั๋ง มาร์โค โปโล ทำให้มีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมและสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย และยุโรป มีการผลิตกระดาษขึ้นใช้ มีธนบัตร ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินที่ทำจากโลหะ สังคมประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม มีการรวมกลุ่มตามตระกูล ใช้ระบบอาจควบคุมไพร่พล และเงินตรา ความเชื่อในลัทธิขงจื้อกลับมาได้รับความนิยม และมีพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มเผยแผ่ในจีน  ส่วนศิลปะเน้นความมีชีวิตชีวา มีการแสดงออกทางอารมณ์ เน้นการเล่าเหตุการณ์ และบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา
การประดิษฐ์คิดค้นในยุคนี้ เช่น ซือหม่า เชียน ซึ่งเป็นทั้งนักโหราศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ (ได้รับการยกย่องเป็นบิดาวิชาประวัติศาสตร์ตะวันออก) ได้ปรับปรุงปฏิทินจันทรคติให้ถูกต้องยิ่งขึ้น มีการเขียนหนังสือ สื่อจี้ หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์ มีการประดิษฐ์กระดาษ เครื่องมือวัดแผ่นดินไหว เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่นเกิดการแตกแยกภายในโดยแบ่งออกเป็นสามก๊ก
                  5. ราชวงศ์สุย เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก และมีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
                 6. ราชวงศ์ถัง มีนครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระถังซำจั๋งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป และยังเป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้ ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
                 7. ราชวงศ์ซ้อง/ซ่ง มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ รู้จักการใช้ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ และรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
                  8. ราชวงศ์หยวน เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรก คือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส ประเทศอิตาลี
                   9. ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง วรรณกรรมจะนิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว นอกจากนี้ยังส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล และสร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
                  10. ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน และเริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง โดยจีนต้องยกฮ่องกงให้อังกฤษเช่า 99 ปี และต้องเปิดเมืองท่าเพื่อการค้าขายอีกด้วย ส่วนปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
สมัยสาธารณรัฐ และสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน
การโค่นล้มราชวงศ์แมนจู ผู้นำคือ ดร.ซุน ยัดเซ็น ช่วงแรกจีนมีการปกครองแบบเผด็จการ ต่อมามีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ มีดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม เจียง ไคเช็ค ก็เป็นหัวหน้าพรรคแทน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น เหมา เจ๋อ ตุง นำพรรคคอมมิวนิสต์ล้มล้างอำนาจของเจียง ไคเช็ค ประกาศตั้งจีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน เจียงไคเช็ค ได้อพยพไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เกาะไต้หวัน โดยแยกจีนเป็น 2 ประเทศ ปกครอง 2 ระบบ คือ คอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย ดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ความเจริญของอารยธรรมจีน
            1. จิตรกรรม
           มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติสมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋าสมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
           2. ประติมากรรม
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่า เทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม สมัยราชวงศ์หมิง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
          3. สถาปัตยกรรม
3.1 กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
35
3.2 เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
3.3 พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์ชิง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
36
         4. วรรณกรรม
           4.1 สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
4.2 ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
4.3 ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
4.4 จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
4.5 หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้ เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ ยุคใหม่
4.6 บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน
37
38
เครื่องวัดแผ่นดินไหว


อารยธรรมกรีก




อารยธรรมกรีก


1. สภาพภูมิศาสตร์ของกรีก
         ดินแดนของกรีกบนพื้นแผ่นดินในทวีปยุโรปแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
         1.1 ภาคเหนือ ได้แก่ แคว้นมาซิโดเนีย (Macedonia) เทสซาลี (Thessaly) และอิไพรัส (Epirus)
         1.2 ภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่เป็นเนินเขาสูง เป็นที่ตั้งของนครทีบส์ (Thebes) นครเดลฟี (Delphi) ช่องเขาเทอร์มอปิเล (Thermopylae) และยอดเขาพาร์แนสซัส (Parnassus) ซึ่งเป็นที่สถิตของอะพอลโล (Apollo) หรือสุริยเทพ ตรงปลายสุดของด้านตะวันออก คือ แคว้นอัตติกา (Attica) ซึ่งมีเมืองหลวง คือ นครเอเธนส์ (Athens) แหล่งกำเนิดการปกครองระบอบประชาธิปไตย
        1.3 บริเวณคาบสมุทรเพโลพอนนีซัส (Peloponnesus) อยู่ตอนใต้อ่าวคอรินท์ เป็นที่ตั้งของนครรัฐสปาร์ตา (Sparta) ที่มีชื่อเสียงด้านการรบ และโอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่สิงสถิตของบรรดาเทพเจ้ากรีก
12
 2. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่ออารยธรรมกรีก
        ภูมิประเทศของกรีก ประกอบด้วย ภูเขา พื้นดิน และทะเล  โดยกรีกมีพื้นที่ราบน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และหมู่เกาะในทะเลอีเจียน ประชาชนอาศัยอยู่ตามหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์เช่นนี้ทำให้แยกชุมชนต่างๆออกจากกัน ส่งผลให้แต่ละเมืองแตกแยกเป็นนครรัฐต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน นครรัฐที่สำคัญได้แก่ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ตา พื้นดินส่วนใหญ่ของกรีกขาดความอุดมสมบูรณ์และมีพื้นดินขนาดเล็ก ประกอบกับมีแม่น้ำสายสั้น ๆ น้ำไหลเชี่ยวและพัดพาเอาความอุดมสมบูรณ์ของดินไป และจากลักษณะภูมิประเทศที่มีลักษณะคล้ายแหลมยื่นไปในทะเล ทำให้กรีกมีชายฝั่งทะเลที่ยาว ซึ่งความเว้าแหว่งของทะเลเป็นที่กำบังคลื่นลมได้เป็นอย่างดี ใช้เป็นอ่าวสำหรับจอดเรือ ทำให้ชาวกรีกเป็นคนชอบค้าขายทางทะเล นอกจากนี้ดินแดนกรีกยังเป็นดินแดนที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย เช่น เหล็ก ทอง เงิน หินอ่อน เป็นต้น
3. อารยธรรมเริ่มต้นของอารยธรรมกรีก
          3.1 อารยธรรมไมนวน (Minoan Civilization)
          เป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นที่เกาะครีต โดยมีชาวครีตหรือชาวครีตันเป็นชนพื้นเมืองของเกาะนี้  กษัตริย์ที่มีอำนาจมากที่สุด คือ พระเจ้ามินอส พระราชวังที่สำคัญ คือ พระราชวังคนอสซุส
13
พระราชวังคนอซุส พระราชวังของกษัตริย์ไมโนน
              
14
ภาพเฟรสโกภายในพระราชวัง (ภาพที่ลงสีขณะปูนยังเปียกอยู่)
               1415
      ภาพแสดงวิถีชีวิของชาวไมโนน
ความเสื่อมของอารยธรรมไมโนน
1) เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟที่ทำลายเมือง
2) การรุกรานของพวกไมซินีจากแผ่นดินใหญ่
       3.2 อารยธรรมไมซินี (Mycenae Civilization)
         เป็นอารยธรรมของพวกไมซีเนียน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนบนคาบสมทรเพโลพอนนีซัส โดย บรรพบุรุษของชาวไมซีเนียน คือ พวกเอเคียน  มีความสามารถในการรบและการค้า ซึ่งพวกนี้โจมตีเกาะครีต ทำลายพระราชคนอสซุส และได้สร้างเมืองไมซีเนขึ้น ซึ่งมีป้อมปราการที่แข็งแรง ทำให้พวกเอเคียนมีชื่อใหม่ว่าไมซีเนียนตามชื่อเมือง ต่อมาพวกเอเคียนได้ไปทำสงครามกับเมืองทรอยในสงครามโทจัน เนื่องจากเมืองทรอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียไมเนอร์ ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้ากับเมืองไมซีเนจนสำเร็จ
         มรดกของอารยธรรมไมซีเน คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์รวมทั้งเทพเจ้าซุส (Zeus) เฮรา (Hera) และโพไซดอน เป็นต้น
        ความเสื่อมของอารยธรรมไมซีเน คือถูกพวกดอเรียนซึ่งเป็นชาวกรีกเผ่าหนึ่งเข้ามารุกรานจนทำให้ความเจริญหยุดลงชั่วขณะ
16
แผนที่แสดงที่ตั้งของอารยธรรมไมซีนี
4. กรีกยุคมืด
        เนื่องจากการขาดหลักฐานการเขียนทำให้ความรู้ของเราเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกจำกัด โดยสงครามเป็นเหตุให้เศรษฐกิจกรีกพินาศ ซึ่งสร้างความยากจนและสับสน ทางการเมืองซึ่งยาวนาน  กษัตริย์ไมซีเนียนถูกแทนที่ด้วยหัวหน้าเล็ก ๆ ผู้มีอำนาจและทรัพย์สินจำกัด ศิลปินหยุดการวาดคนและสัตว์บนหม้อไห กรีกเพาะปลูกในพื้นดินน้อยนิด มีคนมาตั้งถิ่นฐานน้อย และการค้าสากลน้อยกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่งเรื่องราวต่าง ๆ ของกรีกยุคมืดปรากฏอยู่ในวรรณกรรมมุขปาฐะ เรื่องมหากาพย์อิเลียด และโอดิสซี ของมหากวีโฮเมอร์ (Homer) ซึ่งมหากาพย์อิเลียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำสงครามกับทรอย ส่วนมหากาพย์โอดิสซีเป็นเรื่องเกี่ยวกับชัยชนะจากการทำสงครามกับทรอย
 5. อารยธรรมของกรีก
อารยธรรมกรีกประกอบด้วย อารยธรรมเฮเลนิก และอารยธรรมเฮเลนิสติค
          5.1 อารยธรรมเฮเลนิก (Hellenic Civilization) หรือยุคคลาสสิก (Classical Age)
ในสมัยนี้มีการสร้างอาณานิคมเกิดขึ้น มีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและผู้นำชุมชนเริ่มตั้งสภาและกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมสาธารณะที่อกอรา ซึ่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กันของผู้คนในนครรัฐ ซึ่งยุคคลาสสิคนี้ได้เกิดนครรัฐขนาดใหญ่ 2 นครรัฐ ได้แก่ นครรัฐสปาร์ตา และนครรัฐเอเธนส์
5.1.1 นครรัฐสปาร์ตา
                ชาวสปาร์ตาเป็นชาตินักรบ เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ครอบครองลาโคเนียและเมอซีเนีย และเพื่อป้องกันการกบฏของลาโคเนียและเมอซีเนีย ชาว       สปาร์ตาจึงต้องสร้างกองทัพให้เข้มแข็ง จรทำให้ชาวสปาร์ตากลายเป็นชาตินักรบ มีการปกครองแบบคณาธิปไตย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของชาว    สปาร์ตาไม่มีท่าเรือที่ดี และตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวขนาบด้วยภูเขาจึงทำให้ชาวสปาร์ตาขาดการติดต่อจากโลกภายนอก และยังเป็นผลให้สปาร์ตาเป็นรัฐที่มีความสามารถในการรบอีกด้วย
5.1.2 นครรัฐเอเธนส์
                    เนื่องจากชาวเอเธนส์อพยพแบบค่อยเป็นค่อยไปเข้ามาในคาบสมุทรกรีก และสภาพภูมิประเทศของชาวเอเธนส์มั่งคั่งด้วยแร่ธาตุและท่าเรือที่ดี จึงทำให้มีพัฒนาการทางด้านการค้าและมีความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จึงทำให้นครรัฐแห่งนี้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้ชาวเอเธนส์เป็นนักประชาธิปไตย และรักความก้าวหน้า
                ในยุคคลลาสสิคนี้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ 2 ครั้ง ได้แก่ สงครามเปอร์เซียและสงครามเพโลพอนเนเชียน
1) สงครามเปอร์เซีย
สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งระหว่างเอเธนส์กับเปอร์เซีย เพราะเปอร์เซียขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ ผลของสงคราม คือ เอเธนส์ชนะเปอร์เซีย
2) สงครามเพโลพอนเนเชียน
               ชาวกรีกเกิดความคิดในการเตรียมการป้องกันชาวเปอร์เซีย นครรัฐต่างๆ ของกรีกจึงต่างเข้ามาเป็นสมาชิก และสมาชิกแต่ละนครรัฐมีสิทธิเท่าเทียม ทำให้นครรัฐกรีกร่วมกันตั้งสหพันธ์แห่งเกาะเดลอส  สหพันธรัฐใช้เป็นศูนย์กลางและเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติ แต่ในความเป็นจริงแล้วนครรัฐเอเธนส์มีอิทธิพลในการเป็นผู้นำ ต่อมาสหพันธรัฐเปลี่ยนสภาพเป็นจักรวรรดิของเอเธนส์ เอเธนส์ใช้เงินเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง  ลดฐานะสมาชิกอื่น ๆ ให้อยู่ในฐานะบริวาร และห้ามไม่ให้รัฐสมาชิกแยกตัวออกจากสหพันธ์ เมื่อรัฐใดก่อกบฏก็จะใช้กำลังปราบโดยยึดกองทหารเรือและเก็บเครื่องราชบรรณาการ วิธีนี้ทำให้นครรัฐสปาร์ตากลัวว่า เอเธนส์จะเป็นผู้นำกรีกทั้งหมด และเนื่องจากสภาพสังคมของทั้ง 2 รัฐแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดสงครามขึ้น ผลของสงคราม คือ นครรัฐสปาร์ตาชนะ ทำให้นครรัฐสปาร์ตาได้เอเธนส์ไว้ในอำนาจ และนำระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตยมาใช้ แต่การปกครองของสปาร์ตาไม่มั่นคงจึงทำให้นครรัฐสปาร์ตาพ่ายแพ้ต่อกองทัพของนครธีบีสและเอเธนส์ ในที่สุดกรีกทั้งหมดก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาซิโดเนีย
          5.2 อารยธรรมเฮเลนิสติก
เป็นช่วงที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกเสื่อมลง เนื่องมาจากสงครามเพโลพอนเนเชียน  และแคว้นมาซิโดเนียเจริญขึ้น โดยแคว้นมาซิโดเนียมีกษัตริย์องค์สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้นครรัฐกรีกไว้ในอำนาจ และกษัตริย์องค์ต่อมา คือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้ทำการปลดปล่อยหัวเมืองกรีกต่างๆ บนเอเชียไมเนอร์ให้พ้นจากการปกครองเปอร์เซีย
6. มรดกทางอารยธรรมกรีก
         6.1 สถาปัตยกรรม ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีการสร้างเสารายรอบอาคาร ซึ่งจะมีความแตกต่างตรงหัวเสา สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบดอริก (Doric) แบบไอโอนิก (Ionic) และแบบคอรินเธียน (Corinthian) และส่วนใหญ่ยังนิยมก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร วิหารที่มีชื่อเสียง สร้างบนภูเขาที่มีชื่อเรียกว่า อะครอโพลิส (Acropolis) คือ วิหารพาร์เธนอน สร้างเพื่อถวายแด่เทพีอะธีนา (Athena)
17
18
             6.2 ประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นรูปปั้นเทพเจ้าที่มีลายเส้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคล้ายมนุษย์ที่มีชีวิต ดูเป็นธรรมชาติ
19
6.3 จิตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น แจกัน คนโท ไห ฯลฯ และฝาผนังที่พบในวิหารหรือกำแพง
             6.4 นาฏกรรม ละครประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) และสุขนาฏกรรม (Comedy) การแสดงจะใช้นักแสดงชายทั้งหมด โดยทุกคนจะสวมหน้ากาก และมีผู้พากย์และหมู่นักร้อง (Chorus) ส่งเสียงประกอบ
            6.5 วรรณกรรม วรรณกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ มหากาพย์ของโฮเมอร์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซี ที่สะท้อนถึงความรู้สึกที่กวีมีต่อโศกนาฏกรรมในสงครามทรอย (Troy) นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่ที่สำคัญ ประเพณี วิถีชีวิต และความคิดของชาวกรีกด้วย
             6.6 ปรัชญา
         6.6.1 โซเครติส (Socrates) เกิดที่เธนส์ เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำแต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสมีลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่มีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญา และทฤษฎีของเขาที่รู้จักจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา
6.6.2 เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เป็นผู้รวบรวมหลักคำสอนของโซเครติส เรียกว่า Dialogue และเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะคาเดมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดเด่นจนทำให้ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก
6.6.3 อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ของเพลโตและเคยเป็นอาจารย์ของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช อริสโตเติลเป็นทั้งนักปราชญ์และนักวิจัย ซึ่งนอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆด้วย เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics)
20
               6.7 ประวัติศาสตร์ เป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยนักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงาน ประวัติศาสตร์และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) ซึ่งมีงานเขียน คือ The Peloponnesian War ซึ่งเป็นงานเขียนบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการของนักวิชาการเป็นครั้งแรก
6.8 คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์เด่นของกรีก ได้แก่ ปิทาโกรัสแห่งเมืองซามอส ผู้คิดค้นทฤษีบทปิทาโกรัส ยูคลิดแห่งเมืองอะเล็กซานเดรีย ผู้คิดเรขาคณิตแบบยูคลิด และเขียนหนังสือชุด Elements ซึ่งมีจำนวน 13 เล่ม เนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเรขาคณิตระนาบและเรื่องสัดส่วน อาร์คิมีดีสแห่งเซียราคิวส์ เป็นผู้คิดระหัดวิดน้ำแบบเกลียวลูกกรอกชุด ตั้งกฎของคานดีดคานงัด และพบวิธีการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
6.9 การแพทย์ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการแพทย์” ซึ่งค้นพบว่าโรคร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นเกิดจากธรรมชาติ ไม่ใช่การลงโทษของพระเจ้า เขาเชื่อว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การควบคุมด้านโภชนาการและการพักผ่อน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มการผ่าตัด และการกำหนดหลักจรรยาแพทย์ที่ถือปฏิบัติต่อมาจนถึงปัจจุบัน
6.10 ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ เอราทอสทินีส (Eratosthenes) ที่เชื่อว่าโลกกลม สามารถคำนวณความยาวรอบโลกได้ และยังค้นพบว่าการขึ้นลงของกระแสน้ำเกิดจากอิทธิพลของดวงจันทร์