วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อารยธรรมจีน

อารยธรรมจีน
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่ออารยธรรมจีน
          จีนเป็นดินแดนที่มีความกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำฮวงโห หรือแม่น้ำเหลืองในภาคเหนือของจีน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีดินสีเหลือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเกษตร ในหน้าน้ำจะมีน้ำเอ่อล้นและพัดดินตะกอนมาทับถม ทำให้ที่ราบริมแม่น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่เสมอ ส่วนลักษณะภูมิอากาศเป็นเขตอบอุ่น ปริมาณฝนในหน้าแล้งมีน้อยจึงมีน้ำไม่เพียงพอ ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำเป็นสำคัญ ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ชาวจีนต้องมาอยู่รวมกันเป็นชุมชน และสร้างระบบชลประทานขึ้นด้วยการขุดคลองเพื่อระบายน้ำในขณะที่น้ำเอ่อล้น และทดน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่วนทรัพยากรธรรมชาติบริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโหมีป่าไม้และแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ถ่านหิน เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง จากสภาพภูมิศาสตร์นี้ทำให้ชาวจีนสร้างสรรค์อารยธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอาชนะธรรมชาติ เช่น การคำนวณฤดู การควบคุมอุทกภัย ซึ่งชาวจีนได้นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นชุมชน มีการเกณฑ์แรงงานเพื่อควบคุมระบบชลประทานภายใต้ผู้นำชุมชน ซึ่งต่อมากลายเป็นชนชั้นปกครองและระบบกษัตริย์
          นอกจากนี้ลักษณะที่ตั้งของจีนมีปราการธรรมชาติ คือ ทางตะวันออกมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้เต็มไปด้วยภูเขาและป่าดิบร้อน ส่วนทางตะวันตกและทางเหนือก็เป็นทุ่งหญ้าทะเลทรายและภูเขา มีส่วนช่วยให้อารยธรรมจีนคงอยู่มาต่อเนื่องยาวนานโดยได้รับอิทธิพลจากภายนอกน้อยมาก
29
อารยธรรมจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ 
มีการค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง  ลักษณะคล้ายกับโครงกระดูกของชาวจีนในปัจจุบัน  มีการค้นพบเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินแบบหยาบ  ครองชีพโดยการล่าสัตว์  โดยมีการค้นพบแหล่งโบราณคดี 2 แหล่ง คือ
          1. วัฒนธรรมหยางเชา ลักษณะสำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสีจำนวนมาก ลายที่มักเขียนเป็นลายเรขาคณิต พืช นก สัตว์ต่างๆ และภาพใบหน้ามนุษย์ สีที่ใช้เป็นสีดำหรือสีม่วงเข้ม ซึ่งสืบทอดมาถึงสมัยสำริดและสมัยประวัติศาสตร์
30
แบบจำลองที่อยู่อาศัยในวัฒนธรรมหยางเชา
          2. วัฒนธรรมหลงชาน ลักษณะสำคัญ คือ เครื่องปั้นดินเผามีเนื้อละเอียด สีดำขัดเงา คุณภาพดี เนื้อบางและแกร่ง แสดงว่ามีการใช้แป้นหมุน และมีวิธีการเผาที่ก้าวหน้ากว่าอารยธรรมหยางเชา รูปแบบของภาชนะดินเผาที่สำคัญ คือ ภาชนะ 3 ขา ซึ่งสืบทอดต่อมาในยุคสำริด
31
หม้อ 3 ขาในวัฒนธรรมหลงซาน
อารยธรรมจีนสมัยประวัติศาสตร์
         1. ราชวงศ์ชาง ถือเป็นราชวงศ์แรกที่ปกครองจีน มีเมืองหลวงที่เมืองอันยาง บริเวณมณฑลเหอหนาน มีการปกครองเป็นแบบนครรัฐ กษัตริย์เป็นผู้นำด้านการปกครองและเศรษฐกิจ ประชาชนมีความเป็นอยู่เรียบง่าย ดำรงอาชีพโดยการทำเกษตรกรรม มีการชลประทาน มีการใช้เครื่องมือที่ทำจากสำริด เช่น กระถาง ซึ่งภายในมีตัวอักษร การประดิษฐ์อักษรแบบรูปภาพบนกระดูกสัตว์และบนกระดองเต่าเพื่อทำนาย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตัวอักษรจีนในปัจจุบัน นับถือเทพเจ้าแห่งการเพาะปลูก มีการทำปฏิทินบอกฤดูกาลต่างๆ
32
จารึกบนกระดูกสัตว์
         2. ราชวงศ์โจว (สมัยศักดินา/ฟิวดัล) ถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองจีนยาวนานที่สุด แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
2.1 โจวตะวันตก ศูนย์กลางการปกครองที่เมืองฉางอัน มีระบบการปกครองแบบเผิงเจี้ยน หรือระบบศักดินา เกิดทฤษฎีการเมืองอาณัติแห่งสวรรค์ คือ สวรรค์มอบอาณัติให้กษัตริย์ปกครอง กษัตริย์จึงมีฐานะเป็นโอรสแห่งสวรรค์ ซึ่งต้องปกครองด้วยความยุติธรรม
2.2 โจวตะวันออก มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองลั่วหยาง แต่เกิดความเกิดลัทธิและนักปราชญ์ที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆเหล่านี้ ลัทธิที่สำคัญ คือ
1) ขงจื้อ  มีแนวความคิดคือ สนใจเรื่องของมนุษย์ การปกครองต้องให้ประชาชนเป็นสุขโดยไม่ใช้อำนาจ อบรมประชาชนให้เชื่อในเรื่องประเพณีอันดีงาม จะทำให้เกิดความสงบสุข ทัศนะทางสังคม บุคคลต้องทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ทัศนะทางจริยธรรม เน้นการปลูกฝังคุณธรรม ทัศนะทางความเชื่อ พิธีกรรม และการบูชา เป็นการแสดงออกที่ดีของมนุษย์ รู้จักกตัญญู เกรงกลังอำนาจธรรมชาติ การทำพิธีนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
2) ลัทธิเต๋า ผู้ให้กำเนิดลัทธิ คือ เล่าจื๊อหรือเหลาจื่อ มีคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามวิถีธรรมชาติ ใช้ชีวิตสันโดษ 
3) ลัทธิม่อจื๊อ
4) ลัทธิฟาเจี่ย หรือ นิติธรรมนิยม
             3. ราชวงศ์ฉิน (สมัยจักรวรรดิ) ฉินซีหวงตี้สามารถปราบปราม และผนวกรัฐต่างๆ เป็นจักรวรรดิ ทำการฏิรูปอารยธรรมจีน ดังนี้ ยกเลิกระบบศักดินา นำการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางมาใช้ มีเซียนหยางเป็นเมืองหลวง มีเขตการปกครองเป็นมณฑล มีการใช้เงินตราแบบเดียวกัน เครื่องชั่งตวงวัดมาตรฐานเดียวกัน เก็บภาษีที่ดิน มีการสร้างถนน อาชีพเกษตรยังคงเป็นอาชีพหลัก ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก เนื่องจากถูกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก มีการสำรวจสำมะโนประชากร ประกาศใช้ภาษาเขียน สร้างสังคมเป็นหนึ่งเดียว  สร้างพระราชวังอันใหญ่โต มีประติมากรรมลอยตัว เช่น สุสานจิ๋นซีหวงตี้ กำแพงเมืองจีน
34
สุสานฉินซี่ฮ่องเต้
33
              4. ราชวงศ์ฮั่น มีเมืองหลวงที่ฉางอัน เจริญสุดในสมัยพระเจ้าหวู่ตี้ จักรพรรดิมีอำนาจสูงสุด มีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ ขันทีมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง และดำเนินนโยบายสำคัญ ของจักรพรรดิ  การค้าเจริญรุ่งเรืองมาก มีการติดต่อค้าขายกับโลกตะวันตก ทั้งเส้นทางน้ำ และเส้นทางบก เส้นทางที่สำคัญคือ เส้นทางสายไหม  ซึ่งบุคคลที่ใช้เส้นทางนี้ เช่น พระถังซำจั๋ง มาร์โค โปโล ทำให้มีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมและสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย และยุโรป มีการผลิตกระดาษขึ้นใช้ มีธนบัตร ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงินที่ทำจากโลหะ สังคมประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม มีการรวมกลุ่มตามตระกูล ใช้ระบบอาจควบคุมไพร่พล และเงินตรา ความเชื่อในลัทธิขงจื้อกลับมาได้รับความนิยม และมีพุทธศาสนานิกายมหายานเริ่มเผยแผ่ในจีน  ส่วนศิลปะเน้นความมีชีวิตชีวา มีการแสดงออกทางอารมณ์ เน้นการเล่าเหตุการณ์ และบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา
การประดิษฐ์คิดค้นในยุคนี้ เช่น ซือหม่า เชียน ซึ่งเป็นทั้งนักโหราศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ (ได้รับการยกย่องเป็นบิดาวิชาประวัติศาสตร์ตะวันออก) ได้ปรับปรุงปฏิทินจันทรคติให้ถูกต้องยิ่งขึ้น มีการเขียนหนังสือ สื่อจี้ หรือบันทึกของนักประวัติศาสตร์ มีการประดิษฐ์กระดาษ เครื่องมือวัดแผ่นดินไหว เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่นเกิดการแตกแยกภายในโดยแบ่งออกเป็นสามก๊ก
                  5. ราชวงศ์สุย เป็นยุคแตกแยกแบ่งเป็นสามก๊ก และมีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซี เพื่อประโยชน์ในด้านการคมนาคม
                 6. ราชวงศ์ถัง มีนครฉางอานเป็นศูนย์กลางของซีกโลกตะวันออกในสมัยนั้นได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอารยธรรมจีน พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง พระถังซำจั๋งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ในชมพูทวีป และยังเป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน กวีคนสำคัญ เช่น หวางเหว่ย หลี่ไป๋ ตู้ฝู้ ศิลปะแขนงต่างๆมีความรุ่งเรือง
                 7. ราชวงศ์ซ้อง/ซ่ง มีความก้าวหน้าด้านการเดินเรือสำเภา รู้จักการใช้เข็มทิศ รู้จักการใช้ลูกคิด ประดิษฐ์แท่นพิมพ์หนังสือ และรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม
                  8. ราชวงศ์หยวน เป็นราชวงศ์ชาวมองโกลที่เข้ามาปกครองจีน ฮ่องเต้องค์แรก คือ กุบไลข่าน หรือ หงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมาก เช่น มาร์โคโปโล พ่อค้าชาวเมืองเวนีส ประเทศอิตาลี
                   9. ราชวงศ์หมิงหรือเหม็ง วรรณกรรมจะนิยมการเขียนนวนิยายที่ใช้ภาษาพูดมากกว่าการใช้ภาษาเขียน มีนวนิยายที่สำคัญ ได้แก่ สามก๊ก ไซอิ๋ว นอกจากนี้ยังส่งเสริมการสำรวจเส้นทางเดินเรือทางทะเล และสร้างพระราชวังหลวงปักกิ่ง (วังต้องห้าม)
                  10. ราชวงศ์ชิงหรือเช็ง เป็นราชวงศ์เผ่าแมนจู เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญทุกด้าน และเริ่มถูกรุกรานจากชาติตะวันตก เช่น สงครามฝิ่น ซึ่งจีนรบแพ้อังกฤษ ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญานานกิง โดยจีนต้องยกฮ่องกงให้อังกฤษเช่า 99 ปี และต้องเปิดเมืองท่าเพื่อการค้าขายอีกด้วย ส่วนปลายยุคราชวงศ์ชิง พระนางซูสีไทเฮาเข้ามามีอิทธิพลในการบริหารประเทศมาก
สมัยสาธารณรัฐ และสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน
การโค่นล้มราชวงศ์แมนจู ผู้นำคือ ดร.ซุน ยัดเซ็น ช่วงแรกจีนมีการปกครองแบบเผด็จการ ต่อมามีการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ มีดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากท่านถึงแก่อสัญกรรม เจียง ไคเช็ค ก็เป็นหัวหน้าพรรคแทน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น เหมา เจ๋อ ตุง นำพรรคคอมมิวนิสต์ล้มล้างอำนาจของเจียง ไคเช็ค ประกาศตั้งจีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ตั้งเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน เจียงไคเช็ค ได้อพยพไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่เกาะไต้หวัน โดยแยกจีนเป็น 2 ประเทศ ปกครอง 2 ระบบ คือ คอมมิวนิสต์ และประชาธิปไตย ดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
ความเจริญของอารยธรรมจีน
            1. จิตรกรรม
           มีวิวัฒนาการมาจากการเขียนตัวอักษรจีนจารึกบนกระดูกเสี่ยงทายเพราะตัวอักษรจีนมีลักษณะเหมือนรูปภาพ งานจิตรกรรมจีนรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น มีการเขียนภาพและแกะสลักบนแผ่นหิน ที่นิยมมากคือ การเขียนภาพบนผ้าไหม ภาพวาดเป็นเรื่องเล่าในตำราขงจื๊อพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติสมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาการใช้พู่กันสีและกระดาษภาพส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิเต๋าสมัยราชวงศ์ซ้อง จิตรกรรมจัดว่าเด่นมาก ภาพวาดมักเป็นภาพมนุษย์กับธรรมชาติ ทิวทัศน์ ดอกไม้
           2. ประติมากรรม
ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผามีอายุเก่าแก่ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ทำจากดินสีแดง มีลวดลาย แดง ดำ และขาวเป็นลวดลายเรขาคณิต สมัยราชวงศ์ชาง มีการแกะสลักงาช้าง หินอ่อน และหยกตามความเชื่อและความนิยมของชาวจีน ที่เชื่อว่า หยก ทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความสุขสงบ ความรอบรู้ ความกล้าหาญ ภาชนะสำริดเป็นหม้อสามขา สมัยราชวงศ์ถัง มีการพัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาเป็นเคลือบ 3 สีคือ เหลือง น้ำเงิน เขียว ส่วนสีเขียวไข่กามีชื่อเสียงมากในสมัยราชวงศ์ซ้อง ส่วนพระพุทธรูปนิยมสร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ทั้งงานหล่อสำริดและแกะสลักจากหิน ซึ่งมีสัดส่วนงดงาม เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะอินเดียและจีนที่มีลักษณะเป็นมนุษย์มากกว่า เทพเจ้า นอกจากนี้มีการปั้นรูปพระโพธิสัตว์กวนอิม สมัยราชวงศ์หมิง เครื่องเคลือบได้พัฒนาจนกลายเป็นสินค้าออก คือ เครื่องลายครามและลายสีแดง ถึงราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบจะนิยมสีสันสดใส เช่น เขียว แดง ชมพู
          3. สถาปัตยกรรม
3.1 กำแพงเมืองจีน สร้างในสมัยราชวงศ์จิ๋น เพื่อป้องกันการรุกรานของมองโกล
35
3.2 เมืองปักกิ่ง สร้างในสมัยราชวงศ์หงวน โดยกุบไลข่าน ซึ่งได้รับการยกย่องทางด้านการวางผังเมือง ส่วนพระราชวังปักกิ่งสร้างในสมัยราชวงศ์เหม็ง
3.3 พระราชวังฤดูร้อน สร้างในสมัยราชวงศ์ชิง โดยพระนางซูสีไทเฮา ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปและจีนโบราณ
36
         4. วรรณกรรม
           4.1 สามก๊ก สันนิษฐานว่าเขียนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของความแตกแยกในจีนตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศจิ๋นจนถึงราชวงศ์ฮั่น
4.2 ซ้องกั๋ง เป็นเรื่องประท้วงสังคม เรื่องราวความทุกข์ของผู้คนในมือชนชั้นผู้ปกครอง สะท้อนความทุกข์ของชาวจีนภายใต้การปกครองของพวกมองโกล
4.3 ไซอิ๋ว เป็นเรื่องราวการเดินทางไปนำพระสูตรจากสวรรค์ทางตะวันตกมายังประเทศจีน
4.4 จินผิงเหมย หรือดอกบัวทอง แต่งขึ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เป็นนิยายเกี่ยวกับสังคมและชีวิตครอบครัว เป็นเรื่องของชีวิตที่ร่ำรวย มีอำนาจขึ้นมาด้วยเล่ห์เหลี่ยม แต่ด้วยการทำชั่วและผิดศีลธรรมในที่สุดต้องด้รับกรรม
4.5 หงโหลวเมิ่ง หรือ ความฝันในหอแดง เด่นที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เรื่องราวเต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยากัน ผู้อ่านจะรู้สึกเศร้าสลดต่อชะตาชีวิตของพระเอกนางเอกเนื้อเรื่องสะท้อนให้ เห็นสังคมศักดินาของจีนที่กำลังเสื่อมโทรมก่อนการเปลี่ยนแปลงสังคมเข้าสู่ ยุคใหม่
4.6 บันทึกประวัติศาสตร์ ของ สื่อหม่าเฉียน
37
38
เครื่องวัดแผ่นดินไหว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น