วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ

อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ

  
                แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุนับเป็นแหล่งอารยธรรมเริ่มแรกของอินเดีย อยู่บริเวณดิน
แดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (ปากีสถานในปัจจุบัน) ที่แม่น้าสินธุไหลผ่าน อาณาเขตลุ่
แม่น้ำสินธุครอบคลุมบริเวณกว้างกว่าลุ่มแม่น้ำไนล์แห่งอียิปส์โดยทุกๆปีกระแส น้ำได้ไหลท่วมท้น
ฝั่งทำให้ดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำกสิกรรมนักประวัติศาสตรบางคนเรียก
อารยธรรมในดินแดน นี้ว่าวัฒนธรรมฮารัปปา ซึ่งเป็นเชื่อเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสินธุเมื่อ
ประมาณ ๓,๕๐๐  ,๐๐๐ ปีก่อนพุทธศักราช
                 เนื่องจากภูมิประเทศของอินเดีย มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ มีเทือกเขาหิมาลัย
กั้นอยู่ทางตอนเหนือมีเทือกเขาฮินดุกุชอู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือทางด้านตะวันตกติดกับทะเลอาหรับ
ส่วนทางด้านตะวันอออกติดกับมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงอ่าวเบงกอลดังนั้น ผู้ที่เดินทางโดยทางบก
เข้ามายังบริเวณนี้ในสมัยโบราณต้องผ่านช่องเขาทางด้านตะวันตกที่เรียกว่าช่องเขาไคเบอร์ซึ่งเป็นห
ทางเดียวที่จะเข้าสู่อินเดียในสมัยโบราณเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อินเดียตลอดมาเพราะเส้นทางนี้
เป็นทางผ่านของกองทัพของผู้รุกรานและพ่อค้าจากเอเชียกลาง อัฟกานิสถานเข้าสู่อินเดีย เพราะเดิ
นทางได้สะดวก

Ø การตั้งถิ่นฐานและเผ่าพันธุ์

หลักฐานทางโบราณทางโบราณคดีพบว่ามีหมู่บ้านและเมืองโบราณกว่า ๕๐ แห่งบนบริเวณที่ราบริม
ฝั่งแม่น้ำสินธุและพบเมืองใหญ่ ๒ เมือง คือ

·       เมืองฮารัปปา

·       เมืองโมเฮนโจ-ดาโร
 และยังมีการขุดพบเมืองเล็กๆที่อยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๐๐ กิโลเมตร ชื่อ
เมืองกาลิภัณกันและเมืองริมฝั่งทะเลใหญ่ที่สุดชื่อเมืองโลธัลตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวแคมเบในทะเลอา
หรับหลักฐานดังกล่าวทำให้ทราบว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุมีผู้คนตั้งถิ่นฐานและสร้างสรรค์อารยธรรม
มานานชนเผ่าสำคัญที่สร้างอารยธรรม

Ø ลุ่มแม่น้ำสินธุแบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

          1.  พวกดราวิเดียน
หลักฐานทางโบราณคดี และการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพวกราวิเดียนคือชน
พื้นเมืองดั้งเดิม ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำ
และจมูกแบนคล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกในปัจจุบัน
         2.  พวกอารยัน   

           เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่น ฐานใ
พื้นที่ต่างๆ ซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศอบอุ่นกว่าพวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่น
ฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุและขับไล่ พวกดราวิเดียน ให้ถอยร่นลงไปหรือจับตัวเป็นทาส พวกอารยันมี
รูปร่างสูงใหญ่ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนืออาร ยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชน
พื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนดังนี้

                   ๑.การปกครองและกฎหมาย
บ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็น
ได้จากรูปแบบการสร้างเมืองอารัปปาและ เมืองเฮนโจ-ดาโรที่มีการวางผังเมืองในลักษณะ
เดียวกันมีการตัดถนนเป็นระเบียการสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกันตัวเมืองมักอยู่ใกล้ป้อม ซึ่ง
ต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชมีทั้งอำนาจ
ทางโลกและทางธรรมต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวก
ดราวิเดียนจึงได้เปลี่ยนแปลง การปกครองเป็นแบบ กระจายอำนาจโดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่
เรียกว่า ราชา ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามอันดับจากครอบครัวที่
มีบิดาเป็นหัว หน้าครอบ ครัว หลายครอบครัวรวมกันเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมี
ราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการ
ปกครองด้วยวิธีต่างๆ คือ 
      ๑). พิธีราชาภิเษก   
  
       เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อยกฐานะผู้นำให้เป็นเทวราชโดยมีพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีประกาศว่าราชา คือ 
พระอินทรพระประ ชาธิบดี และพระวิษณุ ราชาจึงกลายเป็นเทพเจ้า พิธีนี้ทำให้ราชาเป็นผู้ที่น่าเคารพ
ยำเกรงและมีอำนาจสูงสุด

      ๒). ความเชื่อในเรื่องอวตา 
          
         ศาสนาพราหมณ์เชื่อว่าพระราชาคือเทพเจ้าอวตารลงมาเพื่อปราบยุคเข็ญเช่นเดียวกับที่เชื่อว่าพระ
วิษณุอวตารมาเป็นพระรามในมหากาพย์รามเกียรติ์ เป็นต้น นอกจากนี้ศาสนาฮินดูยังนับถือพระศิวะ
 และถือว่าพระราชาคือพระศิวะอวตารลงมาความ เชื่อในเรื่องของอวตารทำให้ราชาเป็นเทพเจ้าสูงสุด
 มีความยิ่งใหญ่ดังเช่นพระศิวะและพระวิษณุ
     ๓). พิธีอัศวเมธ  
      
        เป็นพิธีขยายอำนาจโดยส่งม้าวิ่งไปยังดินแดนต่างๆ จากนั้นส่งกองทัพติดตามไปรบ เพื่อยึดครอง
ดินแดนที่ม้าวิ่งผ่านไป พิธีนี้เป็นการแดงความยิ่งใหญ่ของพระราชา เพราะเมื่อทำพิธีอัศวเมธได้สำเร็จ
 ก็จะเป็นที่ยอมรับนับถือของราชาอื่นๆ

      ๔).การตั้งชื่อเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่  
        
             เปอร์เซียเป็นชาติแรกที่แสดงสถานการณ์เป็นราชาเหนือราชาอื่นๆ เช่นพระเจ้าดาริอุสเรียก 
พระองค์เองว่าเป็นราชาแห่งราชา ราชาที่ยิ่งใหญ่ในอินเดียมักถูกเรียกว่ามหาราชา หรือราชาธิราช
เป็นต้น

           ๕). คำสอนในคัมภีร์ศาสนาและตำราสนับสนุนความยิ่งใหญ่ของราชา

               คัมภีร์พระเวทเน้นบทบาทความสำคัญของราชาที่ต่อสังคม คัมภีร์ของพระพุทธศาสนา คือ 
พระไตรปิฎก ได้กล่าวถึงผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นราชาคือผู้ที่ลงโทษผู้ที่กระทำผิด เช่นเดียวกับในคัมภีร์
อื่นๆเช่นคัมภีร์ อรรถศาสตร์ ได้กล่าวถึงราชาและยกย่องราชาเป็นผู้ยิ่งใหญ่และเป็นผู้สร้างความเจริญ
รุ่งเรืองให้สังคมโดยมีข้อแม้ว่า
พระราชาจะต้องปกครองให้เป็นไปตามหลักธรรมศาสตร์และราชธรรม
      ราชาที่มีชื่อเสียงเช่น พระเจ้าอโศกมหราชแห่งราชวงศ์เมารยะทรงมีอำนาจเหนืออินเดียเกือบทั้ง
หมดยกเว้นตอนใต้สุดต่อมาพระองค์หัน มานับถือพระพุทธศาสนาและสร้างพุทธสถานซึ่งแสดง
ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นสถูปที่เมืองต่างๆและยึดหลักการ ปกครองตางหลักธรรมทางพระ
พุทธศาสนาที่เน้นความเมตตากรุณา


                ๒. สังคมและวัฒนธรรม

        ในลุ่มน้ำสินธุ กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในระยะแรก คือ พวกดราวิเดียน ซึ่งเป็นโครงสร้างทางสังคม
ประกอบด้วยผู้ปกครอง ได้แก่ ราชาและ ขุนนาง แต่เมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองทำให้มีการเปลี่ยน
แปลงทางสังคม กล่าวคือ ฝ่ายดารวิเดียนถูกลดฐานะลง เป็นทาส ความสัมพันธ์ของคนในสังค
ระยะแรกมีการแต่งงานระหว่างชนสองกลุ่มแต่ต่อมาพวกอารยันเกรงว่าจะถูกกลืนทางเชื้อชาติจึง
ห้าม การแต่งงานระหว่างชนสองกลุ่ม ทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างเผ่าพันธุ์ จนกลายเป็น

ระบบชนชั้นที่แบ่งหน้าที่ชัดเจนโดยแบ่งออกเป็น๔วรรณะใหญ่ๆ คือ

·       วรรณะพราหมณ์ ผู้ประกอบพิธีกรรมและสืบต่อศาสนา
·       วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครองแว่นแคว้น
·       วรรณะแพศมีหน้าที่ผลิตอาหารและหารายได้ให้แก่บ้านเมือง
·       วรรณะศูทร คือคนพื้นเมือง
          ดั้งเดิมที่ทำหน้าที่รับใช้วรรณะทั้งสาม ส่วนลูกที่เกิดจากการแต่งงานข้ามวรรณะถูกจัดให้อยู่
นอกสังคม เรียกว่า พวกจัณฑาล นอกจากนี้ในหมู่ชาวอารยัน       สตรีมีฐานะสูงในสังคมและใช้โค
เป็นเครื่องมือวัดความมั่นคงของบุคคลในด้านวัฒนธรรมพวกดราวิเดียนนับถือสัตว์บางชนิด ได้แก่ 
โค ช้าง และแรดนอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าต่างๆและแม่พระธรณี ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์
พวกอาร ยันรับความเชื่อของพวกดราวิเดียนบางอย่างมานับถือได้แก่ การนับถือโค พระศิวะและ
ศิวลึงค์

                นอกจากนี้ยังนับถือเทพเจ้าหลายองค์ในดินแดนลุ่มน้ำสินธุ ยังพบวัฒนธรรมด้านภาษา คือ 
ตัวอักษรโบราณของอินเดีย ซึ่งเป็นอักษรดั้งเดิมที่ยังไม่มีนักวิชาการอ่านออก อักษรโบราณนี้ปรากฏ
ในดวงตราต่างๆมากกว่า ๑,๒๐๐ ชิ้นโดยในดวงตราจะมีภาพวัว ควาย เสือ จระเข้ และช้างปรากฏ
อยู่ด้วย  พวกอารยันใช้ภาษาสันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์พระเวท เมื่อประ
มาณ ๑,๐๐๐ ปีมาแล้ววรรณกรรมที่สำคัญ ได้แก่ มหากาพย์ มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องการสู้รบในหมู่
พวกอารยันและมหากาพย์รามเกียรติ์เป็นเรื่องการสู้รบระหว่างพวกดราวิเดียนกับพวกอารยัน
ชาวอารยันมักยึดมั่นในหลักศาสนาที่ปรากฎในคัมภีร์พระเวทและระบบวรรณะขณะเดียวกันชาว
อารยันบางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านี้

              อารยธรรมของอินเดียได้แพร่หลายไปสู่ภูมิภาคต่างๆโดยผ่านการค้าขายการเผยแผ่ศาสนาทาง
การเมืองโดยผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม พื้นบ้านในดินแดนต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
นั้นๆ พระพุทธศาสนาปรากฏเด่นชัดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนกลายเป็นพื้นฐานสำคัญของ
วัฒนธรรมต่างๆในภูมิภาคนี้ เช่น ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม เป็นต้น
            

       ๓.การดำรงชีพและการค้า



คนในดินแดนลุ่มน้ำสินธุมีการทำอาชีพการเกษตรเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมีการทำการ
ค้าภายในการเพิ่มประชากรในแต่ละอาณาจักร ทำให้การค้าในเมืองต่างๆขยายตัวขึ้นซึ่งมีสิน
ค้าสำคัญ เช่น ดีบุก ทองแดง หินมีค่าชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การ
ท่อผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นสินค้าในการขายในดินแดนต่างๆ อาทิ อาระเบีย เปอร์เชีย อียิปต์ เป็นต้น
 เมื่อชาวอารยันมีอำนาจมั่นคง จึงได้สร้างบ้านอยู่เป็นหมู่บ้าน มีการปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์
พันธ์ต่างๆมากขึ้น

 ที่มา:https://sites.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น