วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของค่านิยม

ความหมายของค่านิยม 
เปลี่ยน ปีคนให้นิยามใหม่ (update) คำว่า “ค่านิยม” มีผู้ให้ความหมายมากมาย อาทิเช่น
ก่อ สวัสดิ์พานิช (2535) ได้กล่าวว่า ค่านิยม เป็นความคิด พฤติกรรมและสิ่งอื่นที่คนในสังคมหนึ่งเห็นว่า มีคุณค่า จึงยอมรับมาปฏิบัติและหวงแหนไว้ระยะหนึ่ง ค่านิยมมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและความคิดเห็นของคนในสังคม
พนัส หันนาคินทร์(2537) กล่าวถึงความหมายของค่านิยมไว้ว่า เป็นการยอมรับนับถือและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนในสังคม มีต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นวัตถุ ความคิดหรือการกระทำในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ทั้งนี้ ได้มีการประเมินค่าจากทัศนะต่างๆ โดยรอบคอบแล้ว
Phenix (1992) ให้นิยามว่า “ค่านิยมคือความชอบ ความสามารถจำแนกให้ความเห็นความแตกต่างของความชอบกับกับความไม่ชอบได้โดยการประเมินผล”
Ruch (1992) กล่าวไว้ว่า ค่านิยมเป็นแรงจูงใจอันสำคัญที่มีต่อจุดมุ่งหมายในชีวิตจุดมุ่งหมายใดของชีวิตได้มาแล้วคุ้มค่า เราจะกล่าวว่าจุดมุ่งหมายนั้นมีค่านิยมสูง ถ้าจุดมุ่งหมายใดได้มาแล้วไม่คุ้มค่า จุดมุ่งหายนั้นมีค่านิยมในระดับต่ำ สิ่งใด ที่บุคคลพยายามหลีกเลี่ยง แสดงว่า บุคคลนั้นมีค่านิยมที่ไม่ดีหรือมีค่านิยมในทางลบต่อสิ่งนั้น ค่านิยมจึงมีบทบาทและอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคล
Miller (1995) ได้อธิบายว่า ค่านิยมเป็นเจตคติและความเชื่อที่ฝังลึกในชีวิตของบุคคลและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลในทุกด้าน จากพฤติกรรมที่เห็นได้ง่าย อาทิเช่น การแต่งกายไปจนถึงพฤติกรรมที่ซับซ้อน อาทิเช่น การแสดงความคิดเห็น การเลือกคู่ครอง ความยุติธรรม เป็นต้น
จากทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับความหมายของค่านิยมเมื่อประมวลแล้วสรุปได้ว่า ค่านิยม เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการคงอยู่ของสังคมมนุษย์ ค่านิยมมีบทบาทต่อความคิดและการแสดงออกทางพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม ทำให้สังคมมีความโน้มเอียงไปในทางเดียวกันในสังคมนั้นๆ อันจะเป็นแนวทางที่มนุษย์จะประพฤติตนไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่งที่ตัวเองได้พิจารณาไตร่ตรองแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนหรือสังคมยอมรับนับถือ และปฏิบัติตามแนวคิดนั้นๆ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยก็ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย และตามความคิดเห็นของมนุษย์ในสังคมนั้น

      1.2 ประเภทของค่านิยม 
นักวิชาการได้แบ่งประเภททางค่านิยมไว้หลายแบบ ในงานวิจัยนี้ได้เลือกการแบ่งประเภทของค่านิยมพึงเสนอไว้ 2 แบบ ดังต่อไปนี้
อดุลย์ วิเชียรเจริญ (2537) ใช้หลักความเปลี่ยนแปลงแบ่งค่านิยมไว้เป็นสองประเภท ได้แก่ ประเภทแรก ค่านิยมหลักซึ่งเป็นค่านิยมที่มีลักษณะเฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีการวางรากลึก ยากที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ค่านิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของสังคมซึ่งเป็นของที่ไม่คงทน
Phenix (1996) ใช้หลักความสนใจและความปรารถนาของบุคคลแบ่งค่านิยมออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. ค่านิยมทางสังคม (Social Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้เกิดความรักความเข้าใจและ ความต้องการของอารมณ์ของบุคคล 2. ค่านิยมทางวัตถุ (Material Values) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้ชีวิตร่างกายของคนเรา สามารถดำรงอยู่ได้ต่อไป ได้แก่ ปัจจัยสี่ คืออาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และยารักษาโรค 3. ค่านิยมทางความจริง (Truth Values) เป็นค่านิยมเกี่ยวกับความจริงซึ่งเป็นค่านิยมที่ สำคัญยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ และนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหากฎของธรรมชาติ 4. ค่านิยมทางจริยธรรม (Moral Values) เป็นค่านิยมที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี 5. ค่านิยมทางสุนทรียะ (Aesthetic Values) เป็นความซาบซึ้งใจในความดีและความงาม ของสิ่งต่างๆ 6. ค่านิยมทางศาสนา (Religious Values) เป็นค่านิยมที่เกี่ยวกับความปรารถนาความ
สมบูรณ์ของชีวิต รวมทั้งความศรัทธา และการบูชาในทางศาสนาด้วย จากประเภทต่างๆ ของค่านิยมข้างต้น ค่านิยมความรัก คู่ครอง และการแต่งงาน ที่ศึกษาใน การวิจัยครั้งนี้เป็นค่านิยมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคมวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมที่ศึกษาเป็นค่านิยมทางสังคมและทางจริยธรรม

1.3 หน้าที่ของค่านิยม
สุนทรี โคมิน และสนิท สมัครการ (2540) กล่าวถึง หน้าที่ของค่านิยม 7 อย่างไว้ดังนี้
a.ค่านิยมจูง (Lead) เป็นค่านิยมที่ช่วยให้บุคคลได้แสดงจุดยืนของตนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสังคมออกมาอย่างชัดเจน b.ค่านิยมเป็นตัวช่วยกำหนด (Predispose) ให้บุคคลนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองบางอุดมการณ์มากกว่าอุดมการณ์อื่น c.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ช่วยนำ (Guide) การกระทำให้ทำบุคคลประพฤติ และแสดงตัวต่อผู้อื่นที่ประพฤติเป็นปกติอยู่ทุกวัน d.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ใช้ในการประเมิน (Evaluate) ตัดสินการชื่นชมยกย่อง การตำหนิ ติเตียนตัวเอง และการกระทำของผู้อื่น e.ค่านิยมเป็นจุดกลางของการศึกษา กระบวนการเปรียบเทียบกับผู้อื่น f.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้ในการชักชวน (Persuade) หรือสร้างประสิทธิผลต่อคนอื่น g.ค่านิยมเป็นบรรทัดฐานที่ถูกใช้เป็นฐาน (Base) สำหรับกระบวนการให้เหตุผลต่อความนึกคิด และการกระทำของตน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2542) ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ของค่านิยมว่า ค่านิยมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากว่า ค่านิยมที่มนุษย์มีอยู่นั้น ทำหน้าที่มากมายหลายอย่างที่เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ที่สำคัญคือ
1. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐาน หรือมาตรฐานของพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลกล่าวคือ ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกพฤติกรรมของจะทำหรือไม่เราว่า ค่านิยมจะเป็นตัวกำหนดการแสดงออกของพฤติกรรมของเราว่า บุคคลควรจะทำหรือไม่ควรจะทำสิ่งใด ค่านิยมจะช่วยกำหนดจุดยืนในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและค่านิยมจะทำหน้าที่ประเมินการปฏิบัติการต่างๆ ทั้งของตัวบุคคลเอง และของคนอื่น
2. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแบบแผนในการตัดสินใจ และการแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ในบางกรณีบุคคลต้องเจอกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน ทำให้เขาต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่น การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด กับความเป็นตัวของตัวเอง หรือรักษาความเป็นอิสระของตัวเอง การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแต่ยากจน กับการปฏิบัติงานในที่ไม่สุจริต แต่ทำให้ร่ำรวย บุคคลจะเลือกเดินทางไหนนั้นค่านิยมมีอยู่จะช่วยกำหนดทางเลือกให้เขา
3. ค่านิยมทำหน้าที่เป็นแรงจูงใจ หรือผลักดันของบุคคล เช่น บุคคลที่มีความนิยมชมชอบในการมีอายุยาวนาน หรือสุขภาพดี ก็จะมีแรงผลักดันให้อยากออกกำลังกายอยู่เสมอ ตลอดจนมีความรอบคอบในการ บริโภคอาหาร บุคคล ที่มีความนิยมเกี่ยวกับวัตถุนิยมสูง ก็จะมีความขยันขัยแข็ง และเพียรพยายามในการทำงานเพื่อให้ได้มาทำงาน เพื่อเงินทองและสิ่งของที่พึงปรารถนา ค่านิยมจะทำหน้าที่เป็นเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ในการแสดงออกของพฤติกรรม ช่วยตัดสินใจในกรณีที่บุคคลได้พบกับสถานการณ์บางอย่างที่ขัดแย้งกัน และต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งและค่านิยมยังช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจความสนใจ และความตั้งใจที่จะนำไปสู้การแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมที่ตัวเองยึด
1.4 ธรรมชาติและกระบวนการเกิดค่านิยม Rokeach (2001) อธิบายไว้ว่า แนวคิดและค่านิยมของกรอบทฤษฎีนั้น ตั้งอยู่บนบนฐานที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งค่านิยมของมนุษย์ 5 ประการ ดังนี้ 1.จำนวนของค่านิยมแต่ละคนมีไม่มากนัก และอยู่ในข่ายที่จะนับและศึกษาได้ 2.ความแตกต่างของค่านิยมจะแสดงออกในทางระดับ (Degree) 3.ค่านิยมต่างๆ จะสามารถจัดรวมกันได้ เป็นระบบค่านิยม (Values system) 4.ค่านิยมของมนุษย์สามารถสืบไปจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 5.ค่านิยมของมนุษย์จะแสดงออกทางเจตคติและพฤติกรรมของมนุษย์ในเกือบทุกรูปแบบที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้

ในเรื่องของกระบวนการเกิดค่านิยม สายสุนีย์ อุดมนา (2543) ได้กล่าวถึงกระบวนการเกิดค่านิยม มี 5 ลำดับ คือ
1.ความรู้สึก จากสิ่งที่ตนกระทำอยู่ หรือเคยมีประสบการณ์มาก่อน 2.ความคิดเห็น แบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ เป็นความคิดเห็นอย่างระดับ แบ่งเป็น 7 ระดับ คือ ระดับความจำ การแปลความ การประยุกต์ การตีความ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินผล แยกเป็นความคิดเห็นแบบวิพากษ์ วิจารณ์ ซึ่งแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็นส่วนตัวที่มีอคติ แยกเอาการเลือกที่รักมักที่ชัง และข้อขัดแย้งจากสิ่งที่เป็นสัจจะหรือข้อเท็จจริง รวมทั้งการวิพากษ์ วิจารณ์ การโฆษณาชวนเชื่อ และพฤติกรรมที่ตามมา เป็นต้น เป็นความคิดเห็นตามหลักตรรกวิทยา ความคิดแบบสร้างสรรค์ ความคิดจากพระพุทธศาสนา อาทิเช่น การใช้ภาษา การคำนวณและการวิจัย 3.การติดต่อสื่อสารและถ่ายทอด สามารถทำได้ทั้งคำพูดหรือทางอื่น อาทิเช่น การเขียน การฟัง การวาดรูป เป็นต้น 4.การเลือกเชื่อและเกิดศรัทธา เป็นการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปจากทางเลือกต่างๆ มีการพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้องทั้งที่ชอบและไม่ชอบ ทำให้ตนเลือกเชื่อและเกิดศรัทธาในการพึ่งพาตนเองว่า เป็นสิ่งที่ดีและยึดมั่นไว้ในใจ 5.การปฏิบัติ เป็นขั้นตอนที่ทำตามซ้ำกับที่เคยทำมา หรือจากที่เลือกใหม่ ในขั้นนี้ จะเกิดความเชื่อและมีศรัทธาในพฤติกรรม พยายามที่จะปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมที่สามารถเห็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น