วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

อารยธรรมลุ่มน้ำโขง

อารยธรรมลุ่มน้ำโขง


วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์แห่งอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
ดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำโขง เป็นที่กำเนิดของอาณาจักรใหญ่น้อย มีนครรัฐมากมาย มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ด้วย
ความสัมพันธ์หลายรูปแบบ ทั้งความกลมกลืนทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การปกครอง และภูมิปัญญา ดินแดน
แห่งนี้จึงเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ช่วงระหว่างประเทศไทย ประเทศสหภาพพม่า ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและ
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันในเชิงสังคม วัฒนธรรมมีตั้งแต่อดีตกาล บริเวณแห่งนี้เป็นที่กำ
เนิดของอาณาจักรใหญ่น้อย มีนครรัฐมากมาย มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ด้วยความสัมพันธ์หลายรูปแบบ ทั้งความ
กลมกลืนทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การปกครอง และภูมิปัญญา ดินแดนแห่งนี้จึงเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญ
ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

สังคมวัฒนธรรมในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ส่วนใหญ่มีพัฒนาการมาจากรัฐในหุบเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมีที่
ราบแทรกอยู่เล็กน้อย และกระจัดกระจายอยู่ตามแอ่งต่างๆของหุบเขา ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดนครรัฐ
 (City state) ที่แยกตัวกันอยู่ แต่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างเอกภาพระหว่างนครรัฐ เพื่อพัฒนาไปสู่อาณาจักรใหญ่ แต่ถึงกระ
นั้นก็มีนครรัฐบางแห่งสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นอาณาจักรได้ เช่น อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง ในขณะที่หัวเมือง
ต่าง ๆ ตอนบนของทั้งสองอาณาจักร ได้แก่ เชียงตุง เชียงรุ่ง รวมทั้งเมืองอื่น ๆ ไม่สามารถรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่พัฒนา
ให้เป็นอาณาจักรได้

ขอบเขตศิลปวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตกว้างขวาง ทั้งนี้ได้รวมพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง (แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน)
 พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกก (แอ่งเชียงราย) พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิง (พะเยา) และพื้นที่ราบลุ่มน้ำบึน (เชียงตุง) โดยใช้แม่น้ำโขง
เป็นแกนหลัก และศึกษาการรับวัฒนธรรมรวมทั้งการแพร่กระจายวัฒนธรรมในกลุ่มเมืองและอาณาจักรต่าง ๆ

ภูมิปัญญาต่าง ๆ ในแถบอนุภูมิภาคแห่งนี้ ได้มีการพัฒนาการทางด้านภาษาและวัฒนธรรมที่ต่อเนื่อชัดเจน โดยการพัฒนานี้
มีความเหมือนและแตกต่างกันไปตามเหตุปัจจัย สิ่งแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ การเมือง การปกครอง แต่ยังคงความมีอัตตา
ลักษณ์ (Identity) ความเป็นตัวตน (Self) ความเป็นชนชาติ (Ethnicity) ที่เหนียวแน่นด้วยคุณธรรม ความเชื่อดั้งเดิม รวมกับ
การรับเอาพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

สิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงวิถีชีวิตที่งดงาม มีระเบียบของชีวิตที่ชัดเจนและมีการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมที่สื่อถึงความเชื่อและค่านิยม
ดังกล่าว ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมทั้งหลายได้ผ่านกระบวนการวิวัฒนาการจนกลายมาเป็นแอ่งอารยธรรมลุ่มน้ำโขงที่ทรง
คุณค่าอารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มากว่า 1,000 ปีก่อกำเนิดศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าและสุนทรีย
ภาพที่มีอัตตาลักษณ์ ท่ามกลางกระแสความผันแปรทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองระหว่างรัฐต่อรัฐ เมืองต่อเมือง ชุมชนต่อ
ชุมชน บนความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์และเครือญาติที่ผสมผสานอย่างกลมกลืนเป็นเอกภาพบนความหลากหลาย ในดิน
แดนที่เป็นแอ่งอารยธรรมที่เรียกว่า "ลุ่มน้ำโขง"

วิวัฒนาการของศิลปวัฒนธรรม ก่อให้เกิดอารยธรรมที่หลากหลายก็เพราะเหล่าชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในดินแดนลุ่มน้ำโขงที่ประกอบ
ด้วย อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และระดับรัฐน้อยใหญ่อีกมาก กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เป็นผู้สร้างสรรค์
ศิลปะ และวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างสืบเนื่องยาวนาน กลุ่มคนเหล่านี้ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ไท อันได้แก่ ไทยวน ไทลาว
ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทดำ ไทแดง เป็นหลัก รวมถึงกลุ่มคนมอญ เขมร จีนและชนเผ่าต่าง ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ไทเหล่านี้ก็
สามารถแยกแยะได้ด้วยภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แม้จะไม่ชัดเจนนัก แต่จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกับกลุ่ม มอญ
 เขมร จีนและชนเผ่าต่าง ๆ อย่างชัดเจน แต่ถึงอย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ทั้งหลายยังคงสืบเนื่องมาจนถึง
ทุกวันนี้


กลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อกำเนิดอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทว่าท่ามกลาง
กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงและโลกาภิวัฒน์ รวมทั้งการแบ่งเขตรัฐชาติต่าง ๆ ในดินแดนแถบลุ่มน้ำโขง และกระแสความ
ผกผันทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทำให้วิวัฒนาการทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไม่เด่นชัดและอ่อนด้อยลงไป ความสัม
พันธ์ระหว่างชาติพันธุ์ถูกปิดกั้นด้วยอำนาจรัฐและลัทธิทางการเมือง ถึงแม้ว่าปัจจุบันความเป็นรัฐชาติและอาณาจักรจะสูญสิ้น
ไปไม่ต่ำกว่าร้อยปีแล้วก็ตาม ในกลุ่มชนต่าง ๆ ก็ยังมีผู้คนบางคนและบางชุมชนที่สามารถดำรงอัตตาลักษณ์ของตนเองและ
ยังสืบสานภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเอาไว้ได้อย่างเข้มแข็ง

ภาพถ่ายก็นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่บันทึกเรื่องราวที่ผ่านสายตามนุษย์ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และใช้อ้าง
อิงถึงความจริง นอกเหนือจากการบันทึกลายลักษณ์อักษรได้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อารยธรรมลุ่มน้ำโขง ได้รวบรวมเอา
ภาพถ่ายเก่ากว่า 35 ภาพ ที่มีการบันทึกไว้เมื่อราว 50-100 ปี เพื่อการศึกษาและการอ้างอิงในงานวิชาการลุ่มแม่น้ำโขง ภาพ
ถ่ายเหล่านี้นอกเหนือจากงานด้านวิชาการแล้ว ภาพต่าง ๆ ยังคงมีความงดงามเทียบได้กับงานศิลปกรรมชั้นยอดของโลกอีก
ด้วย
ที่มา:http://www.learners.in.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น